วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

Valentine's Day

         วันวาเลนไทน์  มีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ ซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณีอย่างหนึ่ง คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการ ที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานกันในที่สุด
           ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง (Claudius II) นั้น กรุงโรมได้เกิดสงครามหลายครั้ง และคลอดิอุสเองก็ประสบกับปัญหาในการที่จะหาทหารจำนวนมากมายมหาศาลมาเข้าร่วมในศึกสงคราม และเขาเชื่อว่าเหตุผลสำคัญก็คือ ผู้ชายโรมันหลายคนไม่ต้องการจากครอบครัวและคนอันเป็นที่รักไป และด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้จักรพรรดิคลอดิอุสประกาศให้ยกเลิกงานแต่งงานและงานหมั้นทั้งหมดในกรุงโรม ถึงกระนั้นก็ตาม ยังมีนักบุญผู้ใจดีคนหนึ่งซึ่งชื่อว่า ท่านนักบุญ " วาเลนไทน์ " ท่านเป็นพระที่กรุงโรมในสมัยของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สองท่าน นักบุญ วาเลนไทน์ และนักบุญ มาริอุส ได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรเล็กๆ เพื่อช่วยเหลือชาวคริสเตียนที่ตกทุกข์ได้ยากเหล่านี้ และได้จัดให้มีการแต่งงานของคู่รักอย่างลับๆด้วย
         และจากการกระทำเหล่านี้เอง ทำให้ นักบุญ วาเลนไทน์ ถูกจับและถูกตัดสินประหารโดยการตัดศรีษะ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณปีคริสต์ศักราชที่ 270 ซึ่งถือเป็นวันที่ท่านได้ทนทุกข์ทรมานและเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์
 คิวปิด 
คนทั่วไปรู้จัก คิวปิด ในภาพของเด็กน่ารักที่มีปีก มือถือคันธนูกับลูกศรและมีชื่อเสียงในเรื่องการยิงศรรักปักหัวใจของใครต่อใคร ศรรักของ คิวปิด หมายถึงความปรารถนาและอารมณ์แห่งความรัก คิวปิด จะเล็งลูกศรไปที่พระเจ้าและมนุษย์เพื่อทำให้พระเจ้ากับมนุษย์รักกัน
         คิวปิดมักจะมีบทบาทในการเฉลิมฉลองความรัก ในกรีกโบราณ คิวปิด เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า เอโรส ลูกชาย แอฟโพไดท์ เทพธิดาแห่งความรักและความสวยงามแต่สำหรับพวกโรมัน เขาคือ คิวปิด และแม่ของเขาคือ วีนัส 
 
ดอกไม้ " วันวาเลนไทน์ "
มนุษย์ได้ใช้ดอกไม้เป็นสื่อในการแสดงความรักต่อกันมานานแล้ว เราอาจจะคิดว่าดอกไม้เป็นสิ่งที่สามารถใช้สื่อความหมายเฉพาะความรักของหนุ่มสาวเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว ดอกไม้แต่ละชนิดสามารถสื่อความรักได้หลาย รูปแบบ ทั้งยังไม่จำกัดอายุและเพศอีกด้วย
          กุหลาบตูม หมายถึง ความรักและความเยาว์วัย
กุหลาบบาน หมายถึง ความรักที่กำลังเบ่งบาน
ความอ่อนหวาน สดชื่น 
กุหลาบดำ หมายถึง ความรักนิรันดร์
 กุหลาบแดง (red rose) : จะใช้ในความหมายแทน ประโยคที่ว่า "ฉันรักเธอ" การให้ดอกกุหลาบแดงกับคนที่รักความ หมายถึงความรักอันลึกซึ้ง จริงจัง กุหลาบแดงจึงมักจะเป็นดอกไม้ ที่ชายหนุ่มให้หญิงสาวที่ตนเองตั้งใจจะใช้ชีวิตร่วมกัน

กุหลาบขาว (white rose) : สีขาวเป็นสีแห่งความบริสุทธ์ กุหลาบขาวจึงแทนความหมายแห่งความรักอันบริสุทธิ์ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน ดังนั้นมันจึงสามารถใช้แทนความรักของคนต่างวัย ความรักต่อพ่อแม่ เพื่อน หรือคนที่เรารู้สึกดีด้วยอย่างบริสุทธิ์ใจได้
กุหลาบชมพู (pink rose) : มักถูกใช้แทนความรักแบบโรแมนติก และความเสน่หาต่อกัน การให้ดอกกุหลาบสีชมพูสามารถแสดงถึงความรัก ที่กำลังเริ่มงอกงามในใจ และสามารถพัฒนาต่อไปเป็นความรักที่ลึกซึ้งได้ 
 กุหลาบเหลือง (yellow rose) : สีเหลืองเป็นสีแห่งความสดใส กุหลาบสีเหลืองถูกใช้สำหรับแทนความรักแบบเพื่อน และความ สนุกสนานรื่นเริงจึงมักจะนำมันมาประดับตะกร้าสำหรับเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อทำให้คนป่วยรู้สึกสดชื่นรื่นเริงขึ้นนั่นเอง
  สำหรับดอกไม้อื่น ๆ ที่ถูกมาใช้แทนความหมายแห่งความรักก็มี ดอกทิวลิบสีแดง (red tulib) ชาวตะวันตกใช้มันแทนการประกาศความรัก อย่างเปิดเผย คล้าย ๆ กับดอกกุหลาบแดง
ดอกคาร์เนชั่นสีชมพู (pink carnation) ใช้สื่อความหมายว่า "ถึงอย่างไรผมก็ยังรักคุณ" หรือ "คุณยังอยู่ในหัวใจฉันเสมอ
ดอกลิลลี่สีขาว (white lilly) แสดงความรักแบบบริสุทธ์ เช่นเดียวกันกับดอกกุหลาบขาว นอกจากนั้นลิลลี่สีขาวยังแสดงถึงความรักแบบอ่อนหวานจริงใจ และเทอดทูน และมักถูกใช้แทนประโยคที่ว่า "ฉันรู้สึกดี ๆ ที่ได้ได้รู้จัก และอยู่ใกล้คุณ "
สำหรับดอก forget-me-not มีความหมายตรงตัวคือได้โปรดอย่าลืมฉัน และอย่าลืมความรู้สึกดี ๆ ที่เคยมีให้กัน
มาถึงดอกไม้ที่เห็นได้ทั่วไปในบ้านเราบ้างดอกทานตะวัน (sunflower) มีความหมายถึงความรักแบบคลั่งไคล้ ความรักแบบบูชา แต่สำหรับชาวตะวันตก ดอกทานตะวันจะหมายถึงความเข้มแข็งอดทน จึงสามารถใช้แทนความรักที่ต้องฝ่าฟันกว่าจะได้ความรักมา
           ความรักเป็นสิ่งประเสริฐ  แต่สำหรับผู้ที่กำลังอยู่ในวัยเรียนแล้ว บางครั้งความรักก็อาจไม่เป็นผลดีเท่าไรนัก ดังคติธรรมที่ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวไว้ว่า

         เป็นนักเรียน      นักศึกษา       อย่าริรัก
     ถูกศรปัก            เรียนไม่ได้     ดังใจหมาย             
     สมาธิ               จะหักเหี้ยน     เตียนมลาย
     ถึงเรียนได้         ก็ไม่ดี            เพราะผีกวนฯ

จะอย่างไรก็ตาม ทุกคนต่างก็ยังต้องการความรัก ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ วัยหนุ่มวัยสาว หรือแม้กระทั่งผู้สูงวัย  เมื่อมอบความรักให้คนไกลแล้ว  ลองหันกลับมามองใกล้ตัวบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ของเรา เพราะท่านยังต้องการความรักจากพวกเราอยู่ ดังที่หลวงพ่อจรัญ  ฐิตธมฺโม ท่านได้กล่าวไว้ในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ(กรณีพิเศษ) คุณแม่เจิม  จรรยารักษ์  โยมมารดาพระราชสุทธิญาณมงคล(จรัญ  จรรยารักษ์)  เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี        (พ.ศ.2544)  หมวดที่ 3  เรื่องเกี่ยวกับครอบครัว                   ข้อ 3.1  พ่อ - แม่ - ลูก  ว่า    

            ท่านโปรดจำอาตมาไว้ "คนแก่ว้าเหว่  ปู่ย่า  ตายาย  ที่แก่แล้ว  ว้าเหว่ตลอดชาติ  ลูกไม่มาหา  หลานไม่มาสู่  พ่อแม่ก็หมดกำลังใจ  พอเห็นลูกมาหา หลานมาสู่  ก็ชื่นอกชื่นใจฯ"     
                                                           
        นี่คือความรักที่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย มีให้ลูกหลาน ขณะเดียวกันท่านก็ต้องการความรักจากลูกๆ หลานๆ  เช่นกัน
นอกจากเราจะรักพ่อแม่ ปู่ย่า ตายายแล้ว พระพุทธเจ้าท่านยังสอนให้เรารักตัวเอง ไม่ทำร้ายตัวเอง มอบความรักให้ตัวเอง แล้วก็มอบให้กับคนรอบข้าง และคนอื่นๆ อีก
         อย่างไรก็ตาม ความรักแม้เป็นสิ่งสวยงาม แต่บางครั้งก็ไม่ทำให้คนที่มีความรักมีความสุขเสมอไป  ฉะนั้นถ้าจะ 

 รัก  ก็   อย่ารักให้หมด  เผื่อไว้เกลียดกันบ้าง
เกลียด  ก็  อย่าเกลียดกันหมด  เผื่อไว้รักกันบ้าง  เดี๋ยวจะมองหน้ากันไม่ติดฯ (หลวงพ่อจรัญ  ฐิตธมฺโม)
           

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ทฤษฏีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด

                เป็นทฤษฏีพัฒนาขึ้นโดยเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด  ทฤษฏีนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ทฤษฏีวงจรชีวิต  มีแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญ  คือ สถานการณ์ที่ต่างกันย่อมต้องการแบบอย่างผู้นำที่แตกต่างกัน   การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลได้นั้นจำเป็นที่ผู้นำจะต้องปรับแบบภาวะผู้นำของตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆเหล่านั้น
                เฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด (Hersey and Blanchard ) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำของบุคคลว่า  ผู้นำแต่ละคนจะแสดงพฤติกรรมการนำต่อผู้ตาม โดยการผสมผสานพฤติกรรม ๒ ด้านเข้าด้วยกันดังต่อไปนี้
                ๑. พฤติกรรมที่มุ่งงาน  เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกต่อผู้ตามในแง่การควบคุม กำกับ กำหนดหน้าที่บทบาทของผู้ตาม
                ๒. พฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์ เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกต่อผู้ตามในแง่ที่สร้างความสัมพันธภาพที่ดีต่อบุคคล หรือ ภายในองค์กร ความเป็นกันเอง ให้การสนับสนุนอำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน
ทฤษฏีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด จัดกลุ่มคนไว้  4  กลุ่ม   ดังนี้
                1. M1 (บัวใต้น้ำ) เป็นพวกไม่ค่อยมีความรู้ความสามารถ ขาดความเต็มใจในการทำงาน ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบ วุฒิภาวะต่ำ การบริหารคนกลุ่มนี้ต้องใช้แบบของการสั่ง บอกทุกอย่าง
                2. M2 (บัวกลางน้ำ) คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะต่ำถึงปานกลางมีความรู้ความสามารถไม่มากนัก แต่มีความเต็มใจในการทำงาน รับผิดชอบงานเป็นผู้ที่มั่นใจแต่ขาดความชำนาญ การบริหารคนกลุ่มนี้ต้องใช้แบบการขายความคิด  
                3. M3 (บัวปริ่มน้ำ) คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะปานกลางถึงสูง ทำงานตามที่ผู้นำต้องการ ผู้นำต้องมีการสื่อสารสองทางและรับฟังอย่างสนใจ เพื่อสนับสนุนผู้ตามให้พยายามใช้ความสามารถที่มีอยู่ ให้การสนับสนุน ไม่ออกคำสั่ง ผู้นำและผู้ตามร่วมกัน ในการตัดสินใจ การบริหารคนกลุ่มนี้เน้นการทำงานแบบการมีส่วนร่วม
                4. M4 (บัวพ้นน้ำ) คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะสูงมีความรู้ความสามารถมีความเต็มใจและมั่นใจในการปฏิบัติงานมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย การบริหารคนกลุ่มนี้ใช้รูปแบบการมอบหมายงานให้ทำ/มอบอำนาจในการตัดสินใจ  
ลักษณะของผู้ตาม              วุฒิภาวะของผู้ตาม ประกอบคุณสมบัติ ๒ ประการ ดังนี้
                ๑. ความสามารถในงาน ได้แก่ ความเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และ มีทักษะ ในงานที่ทำซึ่งเกิดมาจากผลการศึกษา อบรม ตลอดจนถึงประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงาน
                ๒. ความใส่ใจในงาน ประกอบด้วยความเป็นผู้มีความมั่นใจ มีแรงจูงใจ มีความรักความผูกพัน ความรับผิดชอบ มุ่งมั่นในงานนั้น
บทสรุป               
                บุคคลตามทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มและมีวิธีบริหาร ดังนี้
        M1 (วุฒิภาวะต่ำ,ความสามารถน้อย,ขาดความรับผิดชอบ = S1 ( Telling )  การสั่งการ
       M2 (วุฒิภาวะปานกลาง,มีความตั้งใจแต่ขาดประสบการณ์ = S2 ( Selling )  การขายความคิด
       M3 (วุฒิภาวะค่อนข้างสูง แต่ยังขาดความมั่นใจ ขาดแรงจูงใจ = S3 ( Participating ) การร่วม
       M4 (วุฒิภาวะสูง ความมั่นใจสูง มีความรับผิดชอบ = S4 (Delegating) การมอบหมายงาน/อำนาจตัดสินใจ
……………………………………………………

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คุณครูกุหลาบ เป็นกรรมการตัดสินกิจกรรม Crossword กลุ่มโรงเรียนบ้านใหม่ฯ 1

ครูกุหลาบ  ได้รับแต่งตั้งให้ดำเนินการตัดสินกิจกรรม Crossword ในการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน กลุ่มโรงเรียนบ้านใหม่ฯ 1



ผลจากการแข่งขันปรากฎว่า
นักเรียนจากโรงเรียนอนุบาลบ้านใหม่ไชยพจน์ (ฉลาดราษฎร์บำรุง) ได้เป็นตัวแทนกลุ่มเข้าร่วมแข่งขันกิจกรรม Crossword ของ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4
ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553 ณ อำเภอนาโพธิ์
ทั้งระดับชั้น ป.1-3 และระดับชั้น ป.4-6

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นางกุหลาบ จันทร์แก้ว

คุณครูกุหลาบ  จันทร์แก้ว
   ครู ค.ศ. 3  (ป้ายแดง)






                                 

โรงเรียนของเราชาวขาว-แดง

รวมกิจกรรมเราชาวขาว - แดง 
โรงเรียนอนุบาลบ้านใหม่ไชยพจน์(ฉลาดราษฎร์บำรุง)

รวมกิจกรรม
สาว สาว สาว ทุกคน
อีกหนึ่งความภูมิใจ
ชวนชม  ชวนใจ

วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แนะนำตนเอง

ชื่อกุหลาบ  นามสกุล  จันทร์แก้ว
ครูโรงเรียนอนุบาลบ้านใหม่ไชยพจน์(ฉลาดราษฎร์บำรุง)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์  เขต 4